ข้อควรรู้เกี่ยวกับข้อมูลห้องเย็น
เพื่อนๆ หลายคนคงเคยคิดว่า การเลือกซื้อห้องเย็น แค่เลือกขนาดของห้องก็พอ แล้วนำอาหารหรือสินค้าต่างๆ เข้าไปเก็บในห้องเย็นเลย อย่างผู้เขียนก็เคยคิดแบบนี้ แต่จริงๆ แล้วการเลือกห้องเย็นนั้นมี ปัจจัย หลายอย่าง ที่เราต้องมาพิจารณา เพื่อให้ได้ห้องเย็นที่เหมาะกับเราอย่างเช่น อุณหภูมิที่ต้องการ ปริมาณสินค้าที่เข้าห้องเย็นต่อวัน และอุณหภูมิสินค้าก่อนเข้าห้องเย็น อย่างถ้าเป็นห้องฟรีสแช่แข็ง ควรต้องการให้สินค้าแข็งภายในเวลากี่ ชั่วโมง เป็นต้น ซึ่งบทความนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ
1. อยากได้ห้องเย็นมีขนาดและราคาเท่าไหร่บ้าง
ห้องเย็น ขนาดกว้าง 2.4 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 2.4 เมตร จะเก็บสินค้าได้ประมาณ 2-3 ตัน ขึ้นอยู่กับเป็น สินค้า อะไร เนื้อสัตว์ หรือ ผักผลไม้ ถ้าเป็นประเภทผักผลไม้ น้ำหนักก็น้อยลงไป ส่วนนี้เป็นห้องเย็นสำเร็จรูปนะครับ จริงๆ แล้ว ก่อนเลือกห้องเย็นว่าจะเอาขนาดเท่าไร จะมี ปัจจัย ในการเลือก เช่น ประเภทสินค้า, ปริมาณสินค้า (กิโลกรัม/ตัน)
2. เก็บของขนาดเท่าไหร่ใช้ห้องเย็นขนาดไหนดี
ในข้อที่ 1 ได้พูดถึง ปัจจัยในการเลือกขนาดห้องเย็น คือ ประเภทสินค้า และปริมาณที่จะเก็บ ยกตัวอย่าง ห้องเย็นสำเร็จรูปขนาดเล็กที่สุด 2.4 x 3 x 2.4 เมตร จะเก็บเนื้อสัตว์ได้ 2-3 ต้น ผักผลไม้ น้ำแข้ง ไอศรีม ได้จะ 1-2 ตัน หากเก็บหรือแช่แข็ง สินค้าที่มากๆ หลายสิบตัน จำเป็นต้องขยายห้องเย็น จะแนะนำเป็น ห้องเย็นแบบตามสั่ง แล้วห้องเย็นแบบตามสั่งกับห้องเย็นสำเร็จรูปต่างยังไงดูตามตารางด้านล่างเลยครับ
รายการ | ห้องเย็นตามสั่ง | ห้องเย็นสำเร็จรูป |
---|---|---|
เคลื่อนย้าย | ไม่ได้ | ได้ |
เก็บมากกว่า 10 ตัน | ได้ | ไม่ได้ |
ตั้งในอาคารต่ำๆ | ได้ | ไมได้ |
เวลาการผลิต | 15 วัน | 30 วัน |
3. ใช้ไฟเท่าไหร่ต้องขอไฟฟ้าเพิ่มหรือไม่
แนะนำให้ใช้ไฟ 380 โวลล์ หรือไฟฟ้า 3 เฟส หรือหากไม่สะดวกไฟบ้าน 220 โวลล์ ก็ใช้งานได้เช่นกัน แต่ ต้องให้มั่นใจว่า ที่บ้านไฟไม่ตกและบ้านไม่อยู่ปลายสายของสายส่งไฟฟ้า เพราะถ้าไฟไม่พอหรือไฟตกจะมีผลกระทบกับเครื่องทำความเย็นห้องเย็นและใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาจจะมีอายุการใช้งานสั้นลง
4. ค่าไฟแพงไหม
ค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยห้อง 3 เมตร ประมาณ 3 ถึง 5 พันบาท จริงๆ แล้วก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ค่าไฟสูงขึ้น เช่น
– เปิดประตูห้องเย็นบ่อยๆ
– การดูแลบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็น
– คอมเพรสเซอร์ตัดต่อการทำงานถี่เกินไป
– พื้นที่ระบายลมร้อนจากคอล์ยร้อนแคบเกินไป
– เก็บสินค้าผิดประเภทหรือเกินปริมาณที่ออกแบบเครื่องทำความเย็นไว้
5. ใช้พื้นที่อย่างไรในการวางห้องเย็น
ห้องเย็นสำเร็จรูป จำเป็นต้องวางในพื้นที่ที่ค่อนข้างโล่งและ หลังคาสูง เพราะการเคลื่อนย้ายหรือการขนส่งจะใช้รถเครนยกและวาง ต้องใช้พื้นที่พอสมควร ซึ่งต่างจากห้องเย็นแบบตามสั่ง ที่เราจะเข้าไปประกอบขึ้นห้องที่หน้างานเลยจึงไม่มีปัญหาเรื่องหลังคาหรือความสูง
6. การเตรียมตัวก่อนมีห้องเย็น
สิ่งที่เราจะต้องเตรียมก่อนมีห้องเย็นนั้นมี 2 อย่าง หลักๆ คือ
– ไฟฟ้า ลูกค้าต้องเดินสายไฟจากมิเตอร์ไฟ มายังบริเวณที่จะวางห้องเย็น
– สถานที่วาง เตรียมสถานที่ ที่จะวางห้องเย็น พื้นจะต้องเรียบ แข็งแรงที่จะรองรับน้ำหนักของสินค้าได้ และมีหลังคาคลุมหัองเย็นหากตั้งไว้ในที่แจ้ง
7. มีบริการหลังการขายไหม
เราจะต้องดูด้วยว่าผู้ให้บริการห้องเย็นที่เราจะลงทุนซื้อนั้นมีการรับประกันแน่นอน ทั้งห้องและเครื่องทำความเย็น หากห้องเย็นมีปัญหาภายในระยะเวลารับประกัน จะต้องไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแล ถ้าหากเลยระยะเวลาประกันไปแล้วจะต้องมีบริการดูแลให้ ซึ่งอาจจะเป็นไปตามลักษณะงาน
8. สินค้าจะแข็งไหม
สินค้าแต่ละประเภทจะแข็งในช่วงอุณหภูมิที่ ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น หมู แช่แข็งหมูสดทั้งตัว ซึ่งตัวหมูจะมีความหนา กว่าความเย็นจะเข้าไปข้างใน ต้องใช้อุณหภูมิ ติดลบถึง -15 ถึง -18 องศาเซลเซียส หรือจะให้แข็งมากกว่านี้ที่อุณหภูมิติดลบเยอะๆ ก็ต้องเป็นห้อง Blast Freeze หากเก็บสินค้าเป็นผักผลไม้ ก็ไม่จำเป็นต้องแข็ง แค่ 0 ถึง 5 องศา ก็เพียงพอ
9. ห้องเย็นกับตู้แช่ต่างกันยังไง
ห้องเย็น หรือตู้เย็น ท่านใดที่ยังไม่เคยสัมผัสกับห้องเย็นมาก่อน อาจจะยังไม่มองภาพไม่ออกว่า ห้องเย็นกับตู้แช่แข็งต่างกันอย่างไร อันนี้คือวิธีดูครับ
– เก็บของได้เยอะกว่าตูแช่แข็งหรือตู้แช่เย็นใหญ่ๆ
– เลือกขนาดห้องได้ตามที่อยากได้
– อยากให้เย็นแค่ไหนก็ทำได้